นวตกรรมไม้พิงหลังนั่งได้

พฤ, 2019-05-16 14:54 -- admin
วันที่: 
พฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2019 - 14:45
สถานที่: 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ

ไม้พิงหลังนั่งได้:นวัตกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ อำเภอโพธิ์ทอง   จังหวัดอ่างทอง
หลักการและเหตุผล
                   แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุไทยมรเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนคน คาดว่าปี2568 ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์”(Aged Society) ตำบลบางระกำ มีจำนวนผู้สูงอายุ๔๙๓คน คิดเป็น ร้อยละ๒๕.๑๔ ซึ่งเท่ากับว่าตำบลบางระกำก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์”(Aged Society) เป็นที่เรียบร้อยไปแล้วจากรายงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของตำบลบางระกำ ในการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุ โดยแบ่งผู้สูงอายุเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อการดูแล พบว่าผู้สูงกลุ่มที่ ๑ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีในการทำกิจวัตรประจำวัน (well elder) หรือกลุ่มติดสังคม จำนวน ๔๘๑  คน ผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๒ ที่ช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน(home bound elder) หรือกลุ่มติดบ้านจำนวน ๔ คน และกลุ่มที่ ๓ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารุช่วยเหลือตัวเองได้เลยในการทำกิจวัตรประจำวัน(bed bound elder) หรือกลุ่มติดเตียงจำนวน ๘ คน โรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุคือ โรคความดันโลหิต โรคสูงเบาหวาน โรคอ้วนลงพุงและข้อเข่าเสื่อม   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำจึงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการจัดบริการให้กับผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับความต้องการหรือปัญหาของผู้สูงอายุ  ครอบคลุมความเป็นองค์รวม และเป็นบริการที่บูรณาการด้านสุขภาพและสังคมเข้าด้วยกัน สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องมีผู้ดูแล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ จะต้องประเมินความรู้ ความเข้าใจและให้คำแนะนำและการดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวอีกด้วยในเบื้องต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ ต้องเข้าใจลักษณะของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม ตระหนักในเป้าหมายของการบริการสำหรับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม และคำนึงถึงการสร้างนวัตกรรมสุขภาพเพื่อที่จะสามารถจัดบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ในการใช้นวัตกรรม                 ๑.เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุติดเตียงสามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง               ๒. เพื่อพัฒนาวัตกรรมสุขภาพ”ไม้พิงหลังนั่งได้” ไปใช้ประโยชน์ และเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสุขภาพ อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตนวัตกรรม

  1. ไม้แปเนื้อแข็ง ขนาดกว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาว ประมาณ ๑ เมตรจำนวน ๑ แผ่น
  2. ไม้กระดานขนาดความกว้างประมาณ ๘-๑๐ นิ้ว ยาว ๑ เมตร จำนวน ๑ แผ่น
  3. ท่อน้ำ พีวีซี เหลือใช้ ความยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร
  4. เชือกหรือลวด

กิจกรรม/รูปแบบ/อุปกรณ์ที่ใช้
                   จากสภาพร่างกายของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนใหญ่จะมีภาวะข้อติดแข็ง แผลกดทับ และในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน คนดูแลที่อยู่บ้านก็จะเป็นผู้สูงอายุด้วยกันซึ่งสุขภาพทั่วไปก็จะไม่ค่อยแข็งแรงพอที่จะอุ้มหรือพยุงให้ผู้สูงอายุลุกนั่ง ทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การล้างหน้า แปรงฟันการรับประทานอาหาร หรือการลุกนั่งเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถแก้ปวดเมื่อยหลัง แขนขาได้ รูปแบบของนวัตกรรม “ไม้พิงหลังนั่งได้” ที่คิดค้นขึ้นจึงออกแบบให้ผู้ดูแลนำไปใช้กับผู้สูงอายุติดเตียงได้
                   การนำไม้มาใช้ในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถลุกนั่งและพิงหลังกับไม้ที่ทำขึ้นมานี้ ช่วยให้ผู้ดูแลสะดวกต่อการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง ช่วยผ่อนแรงในการพยุงผู้ป่วยให้ลุกนั่ง ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงสามารถนั่งทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างบนเตียงได้ เช่นการล้างหน้า แปรงฟัน การรับประทานอาหาร เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล  และไม้กระดานก็เป็นวัสดุหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในบ้าน ในชุมชน หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นการสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีประโยชน์   การประดิษฐ์นวัตกรรม “ไม้พิงหลังนั่งได้” ด้วยวิธีการพอสังเขปดังนี้

  1. หาไม้เหลือใช้ในบ้านหรือชุมชนตามขนาดที่ต้องการ ให้มีความยาวมากกว่าความกว้างของเตียงคนไข้ที่ผู้ป่วยนอน และมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักตัวผู้ป่วยติดเตียงได้ นำมาทำความสะอาด ล้างน้ำขัดด้วยแปรงให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง
  2. ขัดผิวไม้ให้เรียบไม่มีเศษไม้ หรือเสี้ยนไม้ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ดูและและผู้ป่วยได้
  3. นำท่อ พีวีซี ผ่าครึ่ง สวมครอบไม้แปบริเวณตรงกลางท่อนไม้ ความกว้างประมาณ ๑ใน ๓ ของท่อนไม้  เว้นด้านริมทั้งสองด้านไว้ .ใช้ลวดหรือเชื่อมัดให้แน่น
  4. เมื่อได้ชิ้นงานนวัตกรรมไม้พิงหลังนั่งได้แล้ว  ผู้ประดิษฐ์ต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ที่ปลอดภัย สะดวก และประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ

วิธีการใช้นวัตกรรม

  1. ผู้ดูแลพยุงตัวผู้ป่วยติดเตียงลุกนั่ง ให้ผู้ป่วยใช้มือเกาะราวเตียงไว้ หลังจากนั้นผู้ดูแลนำท่อนไม้แปที่พันด้วยผ้าขนหนูที่เตรียมไว้ สอดเข้าด้านหลังของผู้ป่วย โดยให้ปลายท่อนไม้ทั้งสองด้านสอดอยู่ในซี่ลูกกรงเตียง เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของไม้
  2. ให้ผู้ป่วยเอนหลังพิงไม้ให้พอดีกับท่าการนั่งไม่ห่างหรือกระชั้นเกินไปจนรู้สึกปวดหลัง หรืออาจจะใช้หมอช่วยสอดระหว่างท่อนไม้กับหลังของผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกนั่งสบายขึ้น
  3. นำแผ่นกระดานที่เตรียมไว้มาวางพาดบนราวลูกกรงของเตียงคนไข้ เพื่อใช้วางอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยต้องการทำกิจวัตรประจำวัน เช่นกาละมังรองน้ำสำหรับล้างหน้า แปรงฟัน หรือจะวางถาดอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตักอาหารรับประมานเองได้ ไม่ต้องให้ผู้ดูแลป้อนอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกสะดวกในการรับประทานอาหารด้วยตัวเองมากกว่ามีคนป้อน ทำให้ทานอาหารได้ดีขึ้น

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้นวัตกรรม

  1. ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังมีสภาพร่างกายพอช่วยเหลือตัวเองได้ กล้ามเนื้อหลังยังแข็งแรงสามารถนั่งได้
  2. ผู้ป่วยทั่วไป หรือผู้สูงอายุที่มีอาการลุกนั่งลำบากชั่วคราว

ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรม

  1. ผู้ป่วยสามารถนั่งทำกิจวัตรประจำวันบนเตียงได้ ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้นที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
  2. ลดภาระผู้ดู ในการช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันผู้ป่วย เช่นการล้างหน้า การแปรงฟัน การป้อนอาหาร ทำให้มีเวลาพักผ่อนลดความรู้สึกขัดแย้ง หรือความรู้สึกว่าผู้ป่วยเป็นภาะของตัวเองลง  เกิดความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล
  3. ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการป้องกันและฟื้นฟูภาวะข้อติดแข็ง  กล้ามเนื้อฝ่อลีบให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้านติดเตียง
  4. เป็นการสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุและผู้ดูแล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิดในครอบครัว
  5. เป็นการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ญาติ และผู้ดูแล(Care Giver)ในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย
  6. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์และบำบัดรักษาผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วิถีชุมชน และเศรษฐกิจพอเพียงด้านสุขภาพ

การพัฒนา นวัตกรรม ไม้พิงหลังนั่งได้
จากการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ใช้นวัตกรรมของทีมหมอครอบครัว อสม.และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาไม้ให้มีความเหมาะสม สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้ ประกอบกับในหมู่บ้าน มีช่างไม้ที่มความชำนาญในการตกแต่งไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อใช้ในครัวเรือน จึงได้นำตัวอย่างไม้ไปให้ช่างดู  ช่างจึงรับที่จะปรับปรุงไม้ให้ดูสวยงามและเหมาะสมต่อการใช้มากขึ้น  หลังจากนั้นช่างได้นำไม้แปขนาดเหมาะสมนำมาใสเพื่อให้ผิวไม้เรียบปราศจากขนหรือเสี้ยนไม้  และได้ทำปลายไม้ทั้ง ๒ ด้านเป็นของอเพื่อใช้เกาะกับราวลูกกรงเตียงป้องกันการลื่นไหลของไม้เวลานั่งพิง
                   เมื่อได้ไม้ที่สวยงามมาเหมาะต่อการแล้ว เจ้าหน้าที่มีความคิดต่อที่จะพัฒนาไม้ให้สะดวกต่อการใช้งาน คนไข้นั่งพิงแล้วไม่เจ็บหลัง  ไม่ต้องใช้ท่อ พีวีซีมาหุ้มและมัดด้วยลวดอีก จึงได้นำไม้ไปติดต่อร้านหุ้มเบาะ อธิบายให้ฟังว่าต้องการให้ทางร้านทำเบาะหุ้มไม้ให้เพื่อป้องกันอาการเจ็บหลังเวลาคนไข้นั่งพิง ซึ่งทางร้านก็ช่วยคิดการหุ้มไม้และเลือกฟองน้ำที่มีความหนาและนุ่มสำหรับคนไข้ จนสำเร็จเป็นไง้พิงหลังนั่งได้ที่เหมาะสม สะดวก และปลอดภัยต่อการนำไปใช้กับผู้ป่วยติดเตียง
เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม

  1. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ มีความคิดริเริ่มตั้งใจแก้ปัญหา

สุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน  ต้องการให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพและช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เพื่อลดภาระของผู้ดูแล โดยการนำวัสดุในชุมชนที่มีอยู่ บูรณาการกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ เสนอแนวคิดให้ญาติจัดหาวัสดุและ

ดำเนินการ และติดตามช่วยเหลือในการทดลองใช้  ตลอดจนให้คำแนะนำ ปรึกษา  

  1. องค์การบริหารส่วนตำบล ภาคีเครือข่ายชุมชน อสม. และผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเห็น

ความสำคัญ ให้ความร่วมมือ การประสานงานที่ดี การเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน และถูกต้อง

  1. อสม.ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ป่วย

ติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่ลุกนั่งเองไม่สะดวกอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ

  1. มีการถ่ายทอดนวัตกรรมและการใช้ไปยังชุมชน หมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง

บทสรุป
                   การพัฒนานวัตกรรมสุขภาพในงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะต้องเริ่มต้นจากปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน ภาคีสุขภาพตระหนักเห็นความสำคัญและต้องการแก้ไขปัญหา โดยมีเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพเป็นตัวเชื่อประสานในการคิดค้นสิ่งใหม่ ระดมทรัพยากรที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และที่สำคัญต้องมีแนวทางในการนำนวัตกรรมสุขภาพที่สร้างขึ้นไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่สู่ชุมชนอื่น มีการติดตามผลการนำไปใช้ และนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น เพื่อการจัดการนวัตกรรมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
 

แบบสำรวจ

ท่านพึงพอใจ เนื้อหาส่วนใดของเว็บไซต์ ?